รู้หรือไม่? เหตุผลที่สาขาคณิตศาสตร์ไม่มีรางวัลโนเบล

14064217_1065555716832974_7916500676567753303_nรางวัลโนเบลมีทั้งหมด 6 สาขา ได้แก่ ฟิสิกส์ เคมี การแพทย์ เศรษฐศาสตร์ วรรณกรรม และสันติภาพ โดยจะจัดให้มีการมอบรางวัลปีละหนึ่งครั้ง แน่นอนว่ารางวัลโนเบลไม่ใช่รางวัลธรรมดาที่ใครก็มีสิทธิ์ได้รับ แต่ต้องเป็นคนที่มีผลงานโดดเด่นที่สุดในสาขานั้นๆ กรณีที่ทำร่วมกันหลายคน หรือใช้ความพยายามร่วมกันก็จะมอบรางวัลให้ทั้งหมดเป็นรางวัลร่วมกัน คนที่ริเริ่มให้รางวัลนี้มีขึ้นคือ อัลเฟรด โนเบล (Alfred Nobel) นักเคมีชาวสวีเดน

โนเบลตั้งใจจะให้มีรางวัลโนเบลที่มีเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ถึง 3 รางวัล แต่ในสาขาคณิตศาสตร์ไม่ถูกกำหนดให้มีรางวัลโนเบลขึ้น พื้นฐานของวิทยาศาสตร์ทั้งหมดคือคณิตศาสตร์ และโนเบลเองก็ชอบคณิตศาสตร์ แต่ทำไมโนเบลถึงไม่จัดทำรางวัลโนเบลสาขาคณิตศาสตร์ เขาลืมหรือจงใจละเว้น สามารถคิดออกมาได้เป็นหลายเหตุผล แต่เหตุผลที่ใช่ที่สุดนั้นไม่ใช่เพราะโนเบลลืม

โนเบลไม่ถูกกับนักคณิตศาสตร์ท่านหนึ่งชื่อว่ามิตแทก เลฟเฟลอร์ (Mittag Leffler) ซึ่งเป็นนักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในสมัยนั้น ถ้าทั้งสองคนพบหน้ากันจะทะเลาะกันเหมือนกรณีของสุนัขกับแมว โนเบลได้สั่งเสียไว้ก่อนจะเสียชีวิตว่าให้มอบรางวัลให้นักวิทยาศาสตร์ที่มีผลงานยอดเยี่ยม และตอนนั้นก็ฉุกคิดถึงเลฟเฟอร์ขึ้นมา ถ้ารางวัลโนเบลมีสาขาคณิตศาสตร์ขึ้นมาคนที่ได้รับรางวัลคนแรกสุดก็จะเป็นเลฟเฟอร์ โนเบลไม่อยากให้เลฟเฟลอร์ที่ตัวเองไม่ชอบได้รับรางวัล

คนจำนวนมากคาดเดาว่าเพราะเหตุนี้หรือเปล่าจึงไม่มีรางวัลโนเบลสาขาคณิตศาสตร์ แต่ไม่มีใครทราบเหตุผลที่แน่ชัดนัก คนที่ทราบเหตุผลที่แท้จริงคงมีเพียงโนเบลเท่านั้น

เหรียญฟิลด์ส

การที่คณิตศาสตร์ไม่มีรางวัลโนเบลถือเป็นเรื่องที่น่าสงสารไม่น้อย นักคณิตศาสตร์หลายท่านคิดว่าความจริงข้อนี้เป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจ นักคณิตสาสตร์ชาวแคนาดา จอห์น ชาร์ลส์ ฟิลด์ส (John Charles Fields) ยืนยันว่ายังไงคณิตศาสตร์ต้องมีรางวัลดีๆ ที่เทียบเท่ากับรางวัลโนเบล หลังจากจอห์น ชาร์ลส์ ฟิลด์ส เสียชีวิต สมาคมคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศได้จัดมอบรางวัลให้แก่ นักคณิตศาสตร์ตั้งแต่ปี 1932 เป็นต้นมา และให้ชื่อรางวัลนี้ว่า เหรียญฟิลด์ส ตามชื่อของ จอห์น ชาร์ลส์ ฟิลด์ส

กว่าจะได้เหรียญฟิลด์สนั้นยากกว่าการได้รางวัลโนเบลเสียอีก เหรียญฟิลด์สจัดให้มีการมอบ 4 ปีครั้ง และนักคณิตศาสตร์ที่มีสิทธิได้รับเหรียญต้องมีอายุไม่เกิน 40 ปี ถึงแม้จะสร้างผลงานได้เป็นที่โดดเด่น แต่ถ้าอายุเกิน 40 ปีไปแล้วก็ไม่มีสิทธิรับเหรียญฟิลด์ส

การจะได้เหรียญฟิลด์สยุ่งยากกว่ารางวัลโนเบลมาก ในประเทศเกาหลีและประเทศไทยยังไม่ปรากฏชื่อนักคณิตศาสตร์ที่ได้รางวัลนี้เลยแม้แต่คนเดียว รางวัลนี้เป็นรางวัลที่ท้าทายเยาวชนที่ฝันจะเป็นอัจฉริยคณิตศาสตร์ในอนาคตเลยนะเนี่ย

Recent Posts