17 สิ่งนี้ที่นักจิตวิทยาแนะนำ ถ้าอย่างให้ลูกน้อยเติบโตขึ้นมาอย่างมั่นใจ

17 สิ่งนี้ที่นักจิตวิทยาแนะนำ ถ้าอย่างให้ลูกน้อยเติบโตขึ้นมาอย่างมั่นใจ

17confidence-01

“ความมั่นใจ” เป็นหนึ่งในของขวัญที่มีคุณค่าที่สุดที่พ่อแม่สามารถมอบให้กับลูกๆ ได้

คาร์ล พิกฮาร์ด (Carl Pickhardt) นักจิตวิทยาเจ้าของหนังสือแนะแนวการเลี้ยงลูกกว่า 15 เล่ม กล่าวว่า เด็กที่ขาดความมั่นใจจะลังเลที่จะทำสิ่งใหม่ๆ ที่ท้าทายความสามารถเพราะพวกเขาจะหวาดกลัวความล้มเหลว หรือการทำให้คนอื่นผิดหวัง ไม่เพียงแค่นั้นเพราะสิ่งนี้อาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลถึงการประสบความสำเร็จในการทำงานของพวกเขาในอนาคตอีกด้วย

“ศัตรูของการสร้างความมั่นใจคือความกลัว”

คาร์ลกล่าว ดังนั้นมันคือหน้าที่ของพวกคุณในฐานะพ่อแม่ผู้ปกครองที่จะสนับสนุนลูกๆ ในทุกย่างก้าวที่เขาเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ และนี่คือเคล็ดลับ 17 วิธี ที่จะเลี้ยงดูลูกๆ ให้มีความมั่นใจ

1. ชื่นชมลูกไม่ว่าชนะหรือพ่ายแพ้

เมื่อคนเราเติบโตขึ้นการเดินทางนั้นสำคัญกว่าจุดหมาย ดังนั้นไม่ว่าลูกคุณจะสามารถนำชัยชนะมาสู่ทีมของเขา หรือแม้เขาจะเตะบอลลอยออกนอกสนาม โปรดชื่นชมความพยายามของพวกเขา เพราะไม่มีเด็กคนใดที่ควรรู้สึกอับอายเพราะพวกเขาได้พยายามอย่างเต็มที่แล้ว

“เมื่อเวลาผ่านไป การพยายามฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอจะสร้างความมั่นใจให้กับเด็กๆ มากกว่าการที่พวกเขาทำได้ดีเป็นพักๆ เสียอีก” พิกฮาร์ดกล่าว

mother and children playing on kitchen with flour

2. ส่งเสริมการฝึกปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างความสามารถ

ส่งเสริมให้ลูกๆ ฝึกฝนในสิ่งที่พวกเขามีความสนใจ โดยไม่สร้างแรงกดดันให้กับพวกเขา

ฮาร์โมนี่ ชู นักเปียโนมืออาชีพ ให้สัมภาษณ์ว่า เธอเริ่มฝึกเล่นเปียโนตั้งแต่เธออายุ 3 ขวบ โดยมีพ่อแม่ของเธอส่งเสริม

“การฝึกฝนคือการลงทุนด้วยความพยายาม และได้รับผลตอบแทนเป็นความมั่นใจตามที่คาดหวัง ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างลื่นไหล” พิกฮาร์ดกล่าวอธิบายเพิ่มเติม

3. ให้ลูกพยายามแก้ปัญหาด้วยตัวเอง

ถ้าคุณลงมือทำหน้าที่แก้ปัญหาทุกอย่างแทนลูกๆ โปรดทราบเลยว่าพวกเข้าจะไม่มีทางที่จะพัฒนาความสามารถหรือแม้แต่มีความมั่นใจในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง

พิกฮาร์ดกล่าวว่า “การเลี้ยงดูแบบผิดๆ จะทำให้ลูกขาดความมั่นใจในการช่วยเหลือตนเองหรือการแก้ปัญหาด้วยตนเอง”

ในทางกลับกันมันจะดีกว่ามากๆ หากเขาได้รับการบอกใบ้ หรือการบอกเป็นนัยจนพวกเขาเรียนรู้และสามารถแก้ปัญหาเองได้ในที่สุด (แน่นอนว่าดีกว่าการบอกวิธีการแบบตรงๆ )

cheerful child with painted hands on white background

4. ปล่อยให้ลูกแสดงออกอย่างเหมาะสมตามวัย

อย่าคาดหวังให้ลูกๆ ของคุณทำตัวเป็นผู้ใหญ่ เพราะหากลูกๆ เข้าใจว่าการทำตัวเป็นผู้ใหญ่เป็นบรรทัดฐานการปฏิบัติตัว การมุ่งมั่นที่จะทำตัวเกินวัยนั้น จะลดความความมั่นใจในการพยายามทำกิจกรรมหรือสิ่งท้าทายใหม่ๆ

5. กระตุ้นให้เกิดความอยากรู้อยากเห็นและความสนใจ

บางครั้งการตั้งคำถามอย่างไม่มีที่สิ้นสุดของเด็กๆ อาจจะเป็นเรื่องน่าเบื่อสำหรับคุณ แต่ลองสนใจคำถามของพวกเขาสักนิด เพราะนั่นจะเป็นการส่งเสริมลูกๆ ของคุณในทางอ้อม

พอล แฮร์ริส (Paul Harris) จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์เดอะ การ์เดียน (www.theguardian.com) ว่าการตั้งคำถามคือแบบฝึกหัดที่ดีต่อพัฒนาการของเด็กๆ เพราะจะทำให้พวกเขาตระหนักได้ว่ายังมีอีกหลายสิ่งที่พวกเขาไม่รู้ ยังมีโลกในอีกหลายมุมที่พวกเขายังไม่ได้เปิดประตูและก้าวเข้าไปสัมผัส

เมื่อเด็กๆ เริ่มก้าวเข้าสู่วัยเรียน เด็กที่ได้รับการฝึกฝนให้ตั้งคำถามด้วยความอยากรู้จะเรียนรู้ได้เร็วกว่าเพื่อนร่วมชั้น นั่นเพราะพวกเขาได้ฝึกฝนที่จะตั้งคำถามในสิ่งที่พวกเขาสงสัย และเรียนรู้ที่จะซึมซับข้อมูลจากสิ่งที่ครูสอน หรือพูดง่ายๆ ได้ว่าเด็กกลุ่มนี้จะเรียนรู้ได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่า

6. ให้โอกาสและความท้าทายใหม่

แสดงให้เด็กๆ เห็นว่าความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่เริ่มจากก้าวเล็กๆ ก่อน ตัวอย่างเช่น การปั่นจักรยานโดยไม่ใช้ล้อเสริม

“ผู้ปกครองสามารถสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติได้ด้วยการมอบหมายงานเล็กๆ น้อยๆ ให้ลูกรับผิดชอบ” พิกฮาร์ดอธิบาย

7. หลีกเลี่ยงที่จะใช้วิธีลัดและสร้างข้อยกเว้นให้กับลูก

การปกป้องหรือดูแลลูกๆ เป็นพิเศษจนเกินไปอาจทำให้พวกเขารู้สึกไม่มั่นใจในการทำอะไรด้วยตนเอง ดังนั้นการได้รับสิทธิพิเศษจึงไม่ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้กับลูกแต่อย่างใด

Portrait of surprised young Caucasian family with little son looking at camera and smiling with mouth open

8. ไม่ตัดสินการกระทำ

ไม่มีอะไรที่จะยับยั้งการสร้างความมั่นใจของลูกคุณมากไปกว่าการตัดสินความพยายามของเขา ดังนั้นแทนที่จะตัดสินหรือบอกว่าสิ่งที่พวกเขาทำนั้นไม่ดีหรือไม่ถูกต้อง พ่อแม่ควรที่จะให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ หรือให้กำลังใจ

เพราะหากเด็กๆ กลัวว่าพ่อแม่จะโกรธ ผิดหวัง หรือไม่พอใจกับการกระทำของพวกเขา พวกเขาจะไม่มีวันทดลองทำสิ่งใหม่ๆ เลย

พิกฮาร์ดอธิบายเพิ่มเติมว่า “ยิ่งผู้ปกครองตัดสินการกระทำของลูกบ่อยเท่าใด ยิ่งเป็นการลดการมองเห็นคุณค่าในตัวเองและการมีแรงบันดาลใจในตัวเองมากเท่านั้น”

9. ให้ความผิดพลาดเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้

การเรียนรู้จากความผิดพลาดจะช่วยสร้างความมั่นใจก็ต่อเมื่อผู้ปกครองจัดการกับความผิดพลาดของลูกๆ ให้ลูกมองเห็นโอกาสที่จะเรียนรู้และเติบโต

อย่าพยายามปกป้องลูกมากจนเกินไป ปล่อยให้พวกเขาได้เรียน ได้รู้ และได้ผิดพลาดบ้าง แล้วคุณก็มีหน้าที่ให้คำแนะนำว่าพวกเขาจะทำอย่างไรให้ดีขึ้นในครั้งต่อๆ ไป

TRICK: พ่อแม่ควรมองสถานการณ์ที่คุณอาจจะรู้สึกว่า “ไม่นะ” หรือ “คุณพระช่วย” ให้เป็นโอกาสที่จะได้สอนลูกๆ มากกว่าทำให้ลูกกลัวความผิดพลาด

10. เปิดประตูสู่ประสบการณ์ใหม่ๆ

พิกฮาร์ดกล่าวว่า ผู้ปกครองมีหน้าที่ที่จะเพิ่มการเปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆ เพื่อที่เด็กๆ จะได้พัฒนาความมั่นใจที่จะรับมือกับสถานการณ์ที่เขาจะต้องเผชิญในโลกใบใหญ่

การเปิดโลกความรู้ใหม่ให้กับลูกเป็นการสอนให้พวกเขารู้ว่ามันไม่สำคัญหรอกว่าสิ่งใหม่ๆ นั้นจะน่ากลัว หรือดูเป็นไปไม่ได้สำหรับพวกเขาแค่ไหน เพราะในท้ายที่สุดพวกเขาจะผ่านมันไปได้ด้วยดี

Charming family spends time in the gym

11. สอนในสิ่งที่คุณรู้

คุณพ่อคุณแม่รู้ไหมว่าพวกคุณน่ะคือฮีโร่ของลูกๆ (อย่างน้อยก็จนถึงช่วงวัยรุ่น) ดังนั้นใช้พลังวิเศษที่คุณมีในการสอนพวกเขาในเรื่องที่คุณรู้ ไม่ว่าจะเป็น วิธีคิด วิธีการแสดงออก หรือวิธีการพูด ยกตัวอย่างให้พวกเขาเห็น หรืออาจสอนผ่านการสร้างสถานการณ์สมมติก็ได้

การที่พวกเขามองเห็นความสำเร็จของคุณ จะส่งผลให้พวกเขามีความมั่นใจว่าเขาเองก็สามารถทำได้เช่นกัน

12. อย่าบอกลูกว่าเคุณรู้สึกกังวลเกี่ยวกับตัวเขา

การแสดงออกถึงความกังวลของพ่อแม่เป็นการแสดงออกทางอ้อมว่าไม่มั่นใจในตัวลูก ซึ่งส่งผลให้พวกเขากลายเป็นคนขาดความมั่นใจไปโดยปริยาย

13. ยกย่องเมื่อลูกกล้าเผชิญกับความทุกข์

บางครั้งชีวิตก็ไม่มีความยุติธรรม และเชื่อเถอะว่าเด็กๆ จะเรียนรู้ความจริงข้อนี้ในวันใดวันหนึ่ง

เมื่อพวกเขาเผชิญหน้ากับความทุกข์ยากในชีวิต พ่อแม่ควรชี้ให้เห็นว่านี่จะเป็นประสบการณ์ที่มีคุณค่าที่จะช่วยให้พวกเขารู้จักการปรับตัวให้เข้ากับแต่ละสถานการณ์ และมันสำคัญมากๆ ที่จะทำให้ลูกเข้าใจว่าหนทางแห่งความสำเร็จย่อมมีอุปสรรคเสมอ

14. ให้ความช่วยเหลือและการสนับสนุนแต่อย่ามากจนเกินไป

การช่วยเหลือที่มากเกินไปอาจจะลดความมั่นใจในการทำอะไรด้วยตนเอง

ให้การช่วยเหลือจากพ่อแม่เป็นทางเลือก เมื่อลูกได้ลองทำอะไรด้วยตัวเองก่อนจะสามารถช่วยสร้างความมั่นใจในตนเองได้

15. ชื่นชมเมื่อลูกกล้าที่จะลองทำสิ่งใหม่

ไม่ว่าลูกๆ จะไปออกค่ายกับทีมบาสเก็ตบอลหรือจะไปลองเล่นสเก็ตเป็นครั้งแรก พ่อแม่ควรชื่นชมลูกในความกล้าของพวกเขา โดยไม่จำเป็นต้องเป็นคำพูดสวยหรู ใช้คำพูดง่ายๆ เช่น “ลูกเจ๋งมากที่กล้าทำสิ่งนี้”

“การทำในสิ่งที่คุ้นเคยจะทำให้รู้สึกผ่อนคลาย แต่การทำในสิ่งที่ท้าทายนั้นต้องอาศัยความพยายามเป็นอย่างยิ่ง”

16. ฉลองความสำเร็จของการเรียนรู้

ลูกจะเลียนแบบพฤติกรรมจากพ่อแม่ว่าพวกเขาจะต้องรับมือกับสถานการณ์นั้นๆ อย่างไร ดังนั้นหากคุณแสดงออกว่าคุณตื่นเต้นมากแค่ไหนที่ลูกสามารถทำได้ พวกเขาก็จะแสดงออกไปในทิศทางเดียวกัน

การเรียนรู้ไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นเมื่อลูกของคุณสามารถทำสิ่งใหม่ๆ ได้ พวกเขาจะมีพลังใจในการฝึกฝนเพิ่มขึ้น พ่อแม่จึงควรแสดงออกถึงความตื่นเต้นและดีใจเพื่อสร้างกำลังใจให้กับลูกๆ

17. ควบคุม แต่อย่าเข้มงวดหรือกดดันมากจนเกินไป

เมื่อผู้ปกครองเข้มงวดหรือคาดหวังกับลูกมากจนเกินไป จะส่งผลให้ลูกขาดความมั่นใจ

ความเป็นอิสระจากการที่บอกว่า “ต้องทำอะไร” หรือ “ต้องเป็นแบบไหน” ลูกๆ จะเติบโตขึ้นมาอย่างมั่นใจในตนเอง

เรียบเรียงจาก A psychologist says parents should do these 17 things to raise a more confident child: สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม, 2559 จาก Business Insider: http://www.businessinsider.com/how-to-raise-a-more-confident-child-2016-8

Recent Posts